
สืบตระกูลมาจากนักรบโดยลำดับดังนี้
.......พระยาชุมพร (ซุ่ยซุ่ยย้ง) ตาทวด (พ่อของย่า)เป็นแม่ทัพไทยตีเมืองมะริค และเมืองตะนาวศรีมาขึ้นประเทศไทย ปลายรัชกาลที่ 2 พ.ศ.2367 มีลูกเขยชื่อปาน ซึ่งได้เป็นพระยาศรีราชสงคราม
.......พระศรีราชสงคราม (ปาน) พระศรีราชสงคราม(ปาน) ปลัดเมืองไชยา(เป็นปู่) มีลูกชายชื่อขำถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ..รับใช้สอยในสำนักสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหม และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงสารานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยาเมื่ออายุ 25 ปี
.......หลวงสารานุชิต (ขำศรียาภัย) ได้ช่วยปราบจีนจราจลที่เมืองภูเก็ตในคราวเดียวกันกับหลวงพ่อแช่ม เจ้าอาวาสวัดฉลอง ซึ่งพวกจีนติดสินบนหัว 1,000เหรียญ เมื่อพวกจีนแตกพ่ายหนีกระจัดกระจายลงเรือใบใหญ่ออกทะเล จึงได้รับปูนบำเหน็จความดีความชอบ เลื่อนยศเป็น พระยาวิชิตภักดีศรี
พิชัยสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองไชยา พ.ศ.242 พวกจีนจลาจลที่ภูเก็ตหนีลงเรือ แต่ไม่กลับเมืองจีน ได้เที่ยวปล้นตามหัวเมืองชายทะเล ตั้งแต่ปลายอาณาเขตไทยทางใต้ จนถึงเมืองเกาะหลักคือประจวบคีรีขันธ์ เรือรบหลวง๒ลำ มีกำลังพล 200 ต้องประจำรักษาเมืองภูเก็ต จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าเมือง ทำการปราบปราม เวลานั้นพระยาวิชิตภักดีพิชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองไชยา แต่มีหน้าที่รักษาเมืองชุมพรและกาญจนดิษฐ์ด้วย ได้คิดสร้างลูกระเบิดมือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย (คือหม้อตาลขนาดเล็กกระชับมือบรรจุดินปืน และใช้ถ่านไฟแดงๆ วางไว้บนฝาหม้อซึ่งหงายขึ้น เมื่อขว้างไปตกในเรือโจรจีนสลัดทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นในเรือ พวกโจรจีนสลัดต้องสละเรือกระโดดหนีลงน้ำ และถูกจับเป็นเชลย) รวบรวมพลอาสาออกปราบปรามโจรจีนสลัดในอ่าวไทยเป็นเวลา5 ปี โจรจีนสลัดสงบราบคาบ จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ เป็นบำเหน็จโดยลำดับ จนถึงพ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนเป็น พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม เพื่อประกาศความดีความชอบ ที่ได้สร้างลูกระเบิดมืออันเป็นอาวุธแปลกไม่เคยเห็นกันในสมัยนั้น
..........ต่อมาอีก 7 ปี คือวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2449 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานสัญญาบัตร ให้เลื่อนเป็นพระยาวจีสัตยารักษ์ มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จนกระทั่งวันถึงแก่กรรมวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2457